ระดับหัวไหล่ไม่เท่ากัน
ความนูนของกระดูกสะบักไม่เท่ากัน
ระดับแนวกระดูกสะโพก ไม่เท่ากัน
ขาทั้งสองข้าง สั้นยาวไม่เท่ากัน ท่าเดินไม่สมดุล
โรคกระดูกสันหลังคด
กระดูกสันหลังคด แก้ไขได้ด้วยการจัดกระดูก ปลอดภัย ไม่ต้องทานยา
กระดูกสันหลังมีหน้าที่รับน้ำหนัก พยุงร่างกายให้ตั้งตรงได้ โดยปกติ หากมองจากด้านหลัง จะเห็นกระดูก สันหลังเป็นแนวเส้นตรง แต่ในคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคด คือจะมองเห็นแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง สันหลังบิดหรือผิดรูปออกไปทางด้านข้าง มีผลทำให้เอว สะโพก ไหล่ไม่เท่ากัน สังเกตุได้จากระดับหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน มีผลทำให้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ เรื้อรัง เนื่องจากกล้ามเนื้อแบกรับน้ำหนักไม่เท่ากัน ในรายที่กระดูกหน้าอกไปกดทับปอด จะมีอาการเหนื่อยง่าย
โรคกระดูกสันหลังเกิดได้ในทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ พบประมาณ 2-3% ของประชากร โอกาสพบเท่ากันระหว่างเพศหญิงหรือเพศชาย พบว่าเพศหญิงจะมีอาการคดงอของกระดูกมากว่าเพศชาย
วิธีสังเกตุอาการโรคกระดูกสันหลังคด
ถ้าพบว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังคด ควรรีบรักษา หาแนวทางป้องกัน อย่าปล่อยไว้นาน
ระดับหัวไหล่ไม่เท่ากัน
ความนูนของกระดูกสะบักไม่เท่ากัน
ระดับแนวกระดูกสะโพก ไม่เท่ากัน
ขาทั้งสองข้าง สั้นยาวไม่เท่ากัน ท่าเดินไม่สมดุล
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังคด
โรคกระดูกสันหลังคดเกิดได้จากหลายสาเหตุ
อิริยาบถที่ไม่ถููกต้องเป็นประจำ ได้แก่ นั่งหลังเอน นอนหลังเอนไปทางใดทางหนึ่งบ่อยๆ
เกิดจากขาทั้งสองข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน
สมองพิการ
ความผิดปกติแต่กำเนิด
การรักษาโรคกระดูกสันหลังคด
การรักษาโรคกระดูกสันหลังคด ขึ้นอยู่กับมุมการคด และอายุของผู้ป่วย
จัดกระดูก รักษาโรคกระดูกสันหลังคด
หากพบว่ากระดูกสันหลังคด ควรรีบรักษา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
หากปล่อยอาการกระดูกสันหลังคดไว้ ไม่รักษา สันหลังที่คดแล้ว อาจจะคดเพิ่มขึ้น มีผลทำให้เสียบคุลิคภาพ กระดูกโปนออกมาก ถ้าไปกดทับปอดจะเหนื่อยง่าย และมีผลกับส่วนอื่นๆในร่างกาย เช่น ขาทั้ง 2 ข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน ทำให้เดินกระเผก
ข้อแนะนำในการจัดกระดูก นวดปรับสมดุลร่างกาย
กรณีที่ผู้ป่วยมีฟิลม์ x-ray ควรนำฟิลม์ติดตัวมาด้วย เพื่อวิเคราะห์และชี้จุด ที่เกิดปัญหาของข้อต่อโครงสร้างกระดูก
หลังจากที่รักษาโดยการจัดกระดูกแล้ว , ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมซ้ำๆ อิริยาบทเดิมที่ทำให้เกิดการไม่สมดุลของโครงสร้างกระดูก
หมั่นทำกายภาพบำบัด ตามท่าทาง ที่เหมาะสมกับร่างกาย ตามที่หมอแนะนำ
ผู้ป่วยที่เคยผ่านการผ่าตัดกระดูกบริเวณที่มีปัญหา ควรหลีกเลี่ยงการจัดกระดูกบริเวณนั้น และแจ้งตำแหน่งที่เคยจัดกระดูกให้หมอทราบ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจัดกระดูก
การจัดกระดูก เป็นการปรับโครงสร้างร่างกาย เพื่อจัดเรียงแนวกระดูกให้เข้าที่ อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องสมดุล ทำให้กระดูกไม่ไปกดทับอวัยวะอื่นๆของร่างกาย ในบางรายที่โครงสร้างกระดูกไม่สมดุลมาเป็นเวลานานหลายปี หลังจากที่มีการจัดกระดูกให้เข้าที่แล้ว แต่ยังคงมีการกลับไปใช้ท่าทางที่ผิด หรือ อิริยาบถที่ไม่ถูกต้องอยู่ ก็มีโอกาสทำให้กระดูกค่อยๆเคลื่อนกลับมาในตำแหน่งเดิมที่ไม่สมดุลอีก ดังนั้น หลังจากจัดกระดูกแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้อิริยาบทซ้ำๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สมดุลอีก ดังนั้น สำหรับบางรายที่มีอาการเรื้อรัง คือเป็นมานานแล้ว อาจจะต้องเข้ารับการจัดกระดูกอย่างต่อเนื่อง และหลีกเลี่ยงอิริยาบทแบบเดิม และอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยรัดร่างกาย เพื่อช่วยพยุงโครงสร้างกระดูกไม่ให้ผิดแนว นอกจากนี้อาจจะต้องมีการบริหารร่างกายในท่าที่ถูกต้อง เพื่อให้เห็นผลในการรักษาที่รวดเร็วขึ้น
การจัดกระดูกเป็นวิธีการรักษาที่สาเหตุ กรณีที่สาเหตุการปวดเกิดจากกระดูกกดทับเส้นประสาท เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอาการปวด, กล้ามเนื้ออักเสบ เลือดไหลเวียนไม่สะดวก